มติมหาเถรสมาคม กรณี ลัทธิเชื่อมจิต Wat Dhammayut, 05/31/202405/31/2024 มติมหาเถรสมาคม กรณี ลัทธิเชื่อมจิต มติมหาเถรสมาคม กรณี ลัทธิเชื่อมจิต ในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๓/๒๕๖๙ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๗ เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า ตามที่มีการนำเสนอข่าวทางสื่อมวลชนและช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ เกี่ยวกับกลุ่มบุคคลนำเอาหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนามากล่าวอ้าง ซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าคำสอนนั้นเป็นไปตามหลักธรรมที่ปรากฏในพระไตรปิฎกหรือไม่ และถามถึงอำนาจหน้าที่ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติว่า สามารถดำเนินการเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวได้อย่างไรหรือไม่ นั้น สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติขอนมัสการมหาเถรสมาคม ดังนี้ ๑. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีภารกิจเกี่ยวกับการสนองงานคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕o๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และกิจการทางพระพุทธศาสนาตามพระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยเป็นภารกิจโดยทั่วไปเกี่ยวกับกิจการทางพระพุทธศาสนา กรณีมีการเผยแพร่หลักธรรมที่เข้าข่ายบิดเบือนหรือผิดเพี้ยนจากหลักพระพุทธศาสนาสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมิได้นิ่งเฉยแต่อย่างใด โดยได้มอบให้นักวิชาการศาสนาในสังกัดเฝ้าระวังและติดตามตรวจสอบข้อมูลที่บุคคลและกลุ่มบุคคลเผยแพร่ออกมาทางโซเชียลมีเดียตั้งแต่ต้นมาโดยลำดับและได้มีการประสานไปยังหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตรวจสอบตามอำนาจหน้าที่แล้ว ๒. ประเด็นการเชื่อมจิตนั้น ไม่ปรากฎหลักฐานในพระไตรปิฎกแต่อย่างใด การเชื่อมจิตเพื่อให้บุคคลเข้าถึงธรรม ขัดกับธรรมคุณ – ประการ ซึ่งธรรมของพระพุทธองค์นั้น ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง คือ ผู้ใดปฏิบัติ ผู้ใดบรรลุ ผู้นั้นย่อมเห็นประจักษ์ด้วยตนเองไม่ต้องเชื่อตามคำของผู้อื่นผู้ใดไม่ปฏิบัติ ไม่บรรลุ ผู้อื่นจะบอกก็เห็นไม่ได้ อีกทั้งวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน คือ เป็นวิสัยของวิญญูชนจะพึงรู้ได้ เป็นของจำเพาะตน ต้องทำจึงเสวยได้เฉพาะตัว ทำให้กันไม่ได้ เอาจากกันไม่ได้ และรู้ได้ประจักษ์ที่ในใจของตนนี่เอง (ที่มา “พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต)”) ๓. ประเด็นที่มีบุคคลกล่าวอ้างว่าเป็นอนาคามีแล้วลงมาเกิดเป็นพญานาคก่อน แล้วมาเกิดเป็นมนุษย์ชาตินั้น ตามหลักพระพุทธศาสนา ผู้ที่บรรลุธรรมถึงขั้นอนาคามี จะไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก (ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือ อัตภาพแห่งมนุษย์) ตามหลักธรรมที่ปรากฎในพระไตรปิฎก(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก ติกนิบาต เล่มที่ ๑๗ ฉบับมหาจุฬาๆ ข้อ ๙๖) ข้อนี้มีในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปีฎกเล่มที่ ๓ ฉบับมหาจุฬาฯ ธาตุกถาเอกกปุคคลบัญญัติ นิทเทสเป็นหลักอ้างอิงเพิ่มเติมอีกว่า “(๓๕) บุคคลชื่อว่าอนาคามี เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง ๕ ประการ สิ้นไป เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น ไม่กลับมาจากภพนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอนาคามี” มี ๕ ประเภท ได้แก่ [๓๖]๑) อันตราปรินิพพายี ได้แก่ ผู้ปรินิพพานในระหว่าง คือ เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้ว อายุยังไม่ถึงกึ่ง ก็ปรินิพพานโดยกิเลสปรินิพพาน (๓๗]๒) อุปหัจจปรินิพพายี ได้แก่ ผู้จวนจะถึงจึงปรินิพพาน คือ อายุพ้นกึ่งแล้ว จวนจะถึงสิ้นอายุจึงปรินิพพาน [๓๘]๓) อสังขารปรินิพพายี ได้แก่ ผู้ปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้แรงชักจูง คือ ปรินิพพานโดยง่าย ไม่ต้องใช้ความเพียรนัก [๓๙]๔) สสังขารปรินิพพายี ได้แก่ ผู้ปรินิพพานโดยใช้แรงชักจูง คือ ปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก [๔o]๕) อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี ได้แก่ ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ คือ เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้วก็ตาม จะเกิดเลื่อนต่อขึ้นไปจนถึงอกนิฎฐภพแล้วจึงปรินิพพาน และ “๔๓๗…บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อละกามราคะและพยาบาทโดยไม่เหลือชื่อว่า ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล บุคคลใดละกามราคะและพยาบาทได้โดยไม่เหลือ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอนาคามี” ๔. ประเด็นที่มีบุคคลกล่าวอ้างว่าเป็นลูกพระพุทธเจ้าในชาติก่อนเป็นเจ้าชายสิทธัตถะมาเกิดนั้น พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ฉบับมหาจุฬาฯ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค๒ พุทธวงศ์จริยาปิฎก ปรากฎพระนามของพระพุทธเจ้าและพระโอรสก่อนออกผนวชแต่ละพระองค์ไว้แล้วอย่างชัดเจน หากผู้ใดกล่าวอ้างว่าเป็นบุตรของพระพุทธเจ้าแล้ว ย่อมสามารถขยายใจความและระบุพระนามพระพุทธเจ้าในฐานะพระบิดา และพระนามของตนในฐานะพระโอรสในชาติก่อน ๆ ได้ อนึ่งชื่อเรียกพระพุทธศากยมุนีเป็นคำพุทธพยากรณ์ของพระพุทธเจ้าในอดีตที่ทรงพยากรณ์แด่พระโคตมพุทธเจ้าว่าจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตนามว่าพระพุทธศากยมุนี หรือพระโคตมพุทธเจ้านั่นเอง แต่พระโอรสของพระพุทธโคตมพุทธเจ้ามีพระองค์เดียวคือ “พระราล” และพระราหลนั้นท่านได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ย่อมไม่มาเกิดอีก (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ ฉบับมหาจุฬาฯ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก็ สฟ้ายตนวรรค จูฬราทุโลวาทสูตร) ๕. ประเด็นที่มีบุคคลกล่าวอ้างว่าพระพุทธเจ้าและเทพเกลียดดอกไม้สีเหลืองให้เอาดอกไม้สีเหลืองออกจากโต๊ะหมู่บูชานั้น ไม่ปรากฎหลักฐานในพระไตรปิฎก และขัดกับพระพุทธจริยา(บำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ โดยเฉพาะเมตตาบารมีและอุเบกขาบารมี (อปทานะ ภาคที่ ๒ จริยาปิฎก) และขัดแย้งกับหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด ซึ่งรวมเป็นหัวใจคำสอนของพระพุทธศาสนา คือ ละความชั่วบำเพ็ญความดี และทำจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ฉบับมหาจุฬาฯ ทีมนิกาย มหาวรรค มหาปทานสูตร ทรงแสดงพระโอวาทปาติโมกข์) ๖. ประเด็นที่มีบุคคลกล่าวอ้างว่าได้แสงสีทองจากพระพุทธเจ้ามาเชื่อมจิตนั้น ในหลักอภิญญา ๖ ไม่มีการเชื่อมจิตและในหลักของพระพุทธศาสนาฝ้ายเถรวาท พระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์เมื่อดับขันธปรินิพพานแล้ว จะไม่ปรากฎรูปนามอีกต่อไป ดังความที่ว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปริพพาชกวรรด อัดคิวัจฉโคตตสูตร) ๗. ประเด็นที่มีบุคคลกล่าวอ้างว่าได้รับบัญชาจากพระพุทธเจ้ามาเพื่อฟื้นฟูศาสนานั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงมอบหมายให้ผู้ใด แต่ตรัสกับพระอานนท์ ว่าธรรมและวินัยที่พระองค์แสดงแล้ว บัญญัติแล้ว เมื่อพระองค์ล่วงไป จักเป็นพระศาสดาของท่านทั้งหลาย (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีมนิกายมหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร พระปัจฉิมวาจาของพระตถาคต) เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕o๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๑๕ ตรี ว่าด้วยอำนาจหน้าที่มหาเถรสมาคม (๔) บัญญัติให้รักษาหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเห็นควร นำเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อโปรดพิจารณา ที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบการดำเนินการของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และมอบหมายให้ดำเนินการคุ้มครองพระพุทธศาสนาตามหน้าที่และอำนาจให้เท่าทันต่อเหตุการณ์ เพื่อป้องกันระงับยับยั้งความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อพระพุทธศาสนา ๒. กรณีที่มีการกระทำใด ๆ ซึ่งอ้างถึงหลักธรรมหรือวิธีการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา แต่มิได้ปรากฎหลักคำสอนดังกล่าวในพระไตรปิฎก คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา มติ อาณัติ และอรรถาธิบายของคณะสงฆ์ที่ชอบด้วยหลักพระพุทธศาสนา หากเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดตามกฎหมาย ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติพิจารณาดำเนินการ และบูรณาการกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องตามพฤติการณ์แห่งกรณี ๓. กำชับเจ้าคณะ พระสังมาธิการ และสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดทุกจังหวัดให้หมั่นกวดขันตรวจตรา อธิบาย และชี้แจงให้สาธารณชนเข้าใจถึงหลักธรรมและวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวอีกและให้ดำเนินการได้ทันที โดยไม่ต้องรอรับรองรายงานการประชุม Loading… Taking too long? Reload document | Open in new tab Download [1.32 MB] จำนวนผู้อ่าน : 63 เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์.... Related posts: วัดและบทบาท คณะสงฆ์ธรรมยุตในต่างประะทศ ความเป็นมาของคณะสงฆ์ธรรมยุตโดยย่อ วัดอิ่มบุญธรรมาราม ประเทศญี่ปุ่น การเผยแผ่พระพุทธศาสนาบนโลกออนไลน์ DOCUMENTS บทความ พระธรรมทูตพระธรรมยุตวัดธรรมยุตวัดไทยในต่างประเทศ